วิธีเลือก“น้ำมันเครื่องยนต์”แบบไหนดีที่สุด

วิธีเลือก“น้ำมันเครื่องยนต์”แบบไหนดีที่สุด แต่งรถ ประดับยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์แต่งรถ

ในการขับขี่รถยนต์สิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากและจะต้องเปลี่ยนอย่างเสมอก็คือน้ำมันเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะมองข้ามในเรื่องของความสำคัญตรงนี้ไป แต่ถ้าหากคุณไม่เปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถยนต์ในระยะเวลาที่เหมาะสมอาจจะทำให้เครื่องยนต์ของคุณนั้นเกิดปัญหาในการใช้งานได้และจะเป็นปัญหาระยะยาวที่เชื่อว่าคุณคงไม่อยากเจออย่างแน่นอน และวันนี้เราได้นำเอาข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการเลือกน้ำมันเครื่องยนต์มาแนะนำกัน ลองไปดูซิว่าจะมีวิธีการเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของคุณมากที่สุด

ทำความรู้จักน้ำมันเครื่องยนต์แต่ละประเภท

  1. การเลือกใช้น้ำมันเครื่องแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานเครื่องยนต์และความพร้อมทางด้านการเงิน เนื่องจากน้ำมันเครื่องเริ่มจากราคาถูก ไปสู่ราคาแพงตามลำดับ
  2. น้ำมันเครื่องยนต์ธรรมดา : ระยะทาง 3,000 – 5,000 กิโลเมตร  คือ น้ำมันหล่อลื่นที่ผลิตจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  3. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ : ระยะทาง 5,000 – 7,000 กิโลเมตร  คือ น้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม
  4. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ : ระยะทาง 7,000 – 10,000 กิโลเมตร คือ น้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม

วิธีการอ่านค่าน้ำมันเครื่องยนต์

ตัวอย่างการอ่านค่าน้ำมันเครื่องยนต์“SM 10W-30”

  1. “SM” ค่า API  คือ มาตรฐานน้ำมันเครื่อง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ถูกกำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
  2. ค่า API ในระบบมาตรฐานกำหนดน้ำมันเครื่องยนต์เบนซิน ขึ้นต้นด้วย “S” อาทิ SM
  3. ค่า API ในระบบมาตรฐานกำหนดน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล ขึ้นต้นด้วย “C” อาทิ CJ-4
  4. API SM คุณภาพสินค้าน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซินระดับสูงสุด รับรองประสิทธิภาพของน้ำมันหล่อลื่น อาทิ ประหยัดเชื้อเพลิง  เครื่องยนต์รองรับน้ำมัน E85
  5. CK-4 คุณภาพสินค้าน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซลระดับสูงสุด
  6. “10W” คือ ค่าความทนทานความเย็นของน้ำมันเครื่อง
  7. W : ไม่เป็นไข เมื่อคงความข้นใสของน้ำมันได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส
  8. 5W : ไม่เป็นไข เมื่อคงความข้นใสของน้ำมันได้ถึง -30 องศาเซลเซียส
  9. 10W : ไม่เป็นไข เมื่อคงความข้นใสของน้ำมันได้ถึง -20 องศาเซลเซียส
  10. 15W : ไม่เป็นไข เมื่อคงความข้นใสของน้ำมันได้ถึง -10 องศาเซลเซียส
  11. 20W : ไม่เป็นไข เมื่อคงความข้นใสของน้ำมันได้ถึง 0 องศาเซลเซียส
  12. “30” เลขสองตัวท้าย คือ ค่าบอกความหนืดของน้ำมันเครื่อง
  13. ความหนืดน้อย-มาก เริ่มตั้งแต่ 5 – 10 – 20 – 30 – 40 – 50 – 60
  14. ความหนืดของน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ทั่วไปอยู่ในช่วง 20 – 40

เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิธีการเลือกน้ำมันเครื่องยนต์ที่เรานำมาแนะนำกัน ซึ่งหากคุณมีการเลือกน้ำมันเครื่องรถยนต์ที่เหมาะสมและเข้ากันได้กับเครื่องยนต์ของคุณ ก็จะช่วยส่งผลให้เครื่องยนต์ของคุณนั้นทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยถนอมเครื่องยนต์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และไม่สึกหรอเร็วก่อนเวลาอันควรนั่นเอง สำหรับครั้งหน้าเราจะนำเอาเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับวงการรถยนต์อะไรมาฝากกันอีกนั้นต้องติดตาม

#การเลือกน้ำมันเครื่องยนต์ #น้ำมันเครื่องยนต์ #เรื่องรถน่ารู้

thegarace

thegarace

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit